ห้องสมุดคือมิตร แหล่งคิดค้นคว้า สร้างภูมิปัญญา นำพาวิชาการ

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ออกซิเจน สำคัญสำหรับนักจ็อกกิ้ง


ออกซิเจน สำคัญสำหรับนักจ็อกกิ้ง (Lisa)

ผู้ที่เริ่มจ็อกกิ้งใหม่ ๆ หรือผู้ที่ออกวิ่งเร็วเกินไป หรือหายใจตื้นเกินไป ต้องมีประสบการณ์กับการหายใจหอบมาแล้ว จึงควรผ่อนจังหวะการวิ่งให้ช้าลงหรือหยุดพักด้วยการเดิน
หากไม่อยากหายใจหอบฮัก ๆ ล่ะก็ ควรเริ่มออกวิ่งช้า ๆ ก่อน และพยายามหายใจลึก ๆ ไปถึงช่องท้อง เพราะการหายใจตื้น จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยและอาจทำให้หายใจไม่ออก
วิธีที่จะให้ร่างกายได้รับออกซิเจนที่ดีที่สุด ก็คือ หายใจเข้าลึก ๆ ก็จะทำให้หายใจออกยาวขึ้น ไม่ว่าจะหายใจออกทางปากหรือทางจมูกก็ได้ การหายใจทางปากจะทำให้หายใจได้เร็วขึ้น ซึ่งนักวิ่งหลายคนรู้สึกหายใจได้สะดวกกว่า แต่ถ้าวิ่งในที่ที่มีอากาศเย็น ๆ นั้นควรหายใจทางจมูกจะดีกว่า เพราะอากาศที่หายใจผ่านจมูกจะดีกว่า เพราะอากาศที่หายใจผ่านจมูก จะช่วยให้ลมหายใจอบอุ่นซึ่งเป็นการถนอมคอและหลอดลม
นอกจากนี้
ศจ.เคลาส์ โฟลเคอร์ แพทย์การกีฬาจากมหาวิทยาลัยมุนส์เตอร์ในประเทศเยอรมนีได้ แนะนำว่า ไม่ควรรับประทานอาหารหนักก่อนจ็อกกิ้ง 2-3 ชั่วโมง เพราะเลือดจะถูกนำไปช่วยย่อยอาหาร และในขณะเดียวกันกล้ามเนื้อที่ออกกำลังก็ต้องการเลือดเช่นเดียวกัน หากรู้สึกจุกเสียดขณะวิ่งก็ให้วิ่งช้าลงหรือเดิน การออกกำลังเป็นประจำจะทำให้ร่างกายชินกับการออกแรงอวัยวะต่าง ๆ จะเรียนรู้การถ่ายเทเลือดได้ดีขึ้น

วิธีเลือกซื้อโยเกิร์ต


วิธีเลือกซื้อโยเกิร์ต (Woman's Story) พูดถึง โยเกิร์ต แน่นอนว่าไม่มีใครไม่รู้จัก แต่มีใครบ้างที่เลือกซื้อโยเกิร์ตให้ได้คุณค่า...วันนี้เรามีวิธีเลือกซื้อโยเกิร์ตมาแนะนำค่ะ

1. เลือกซื้อโยเกิร์ตที่มีวันผลิต ใกล้เคียงกับวันที่ซื้อมากที่สุด หรือเหลือวันหมดอายุนานที่สุด
2. เลือกซื้อรสธรรมชาติที่สุด เพราะจะได้รับคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า
3. หากต้องการได้คุณค่าโปรตีนหรือแคลเซียม การเลือกดื่มนมสดรสจืดน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะราคาถูกและให้คุณค่าทางโภชนาการดีกว่า
4.คนที่อยากลดน้ำหนัก วิธีที่ดีที่สุดก็คือ ให้กินอาหารหลักในปริมาณพอดีและงดโยเกิร์ต เพราะแม้จะเป็นโยเกิร์ตรสธรรมชาติ แต่ก็มีน้ำตาล และการอ้างว่าไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมันไม่ได้หมายความว่าจะไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
5.ใครที่มีสุขภาพแข็งแรง และกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ ก็ไม่จำเป็นต้องกินโยเกิร์ต
6.ไม่แนะนำให้ซื้อนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม (UHT) โดยเฉพาะกับ เด็กวัยเติบโต เพราะน้ำนมพร่องมันเนย หรือหางน้ำนมมาหมักด้วยจุลินทรีย์แล้วแต่งด้วยสี กลิ่น หรือน้ำผลไม้ ปริมาณโปรตีนจะลดลง และได้รับน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้น

ป้องกันแสงแดดให้ได้ผล


ป้องกันแสงแดดให้ได้ผล (Hair)

1. ทาครีมกันแดดล่วงหน้า 30 นาทีก่อนเผชิญแสงแดด และทาซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง และทุกครั้งหลังว่ายน้ำควรจะทาครีมกันแดดซ้ำอย่างน้อยอีก 1 ครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันผิวอีกชั้นหนึ่ง
2. เลือกใช้ครีมกันแดดสำหรับกิจกรรมทางน้ำ ที่มีคำว่า Water Proof (ที่จะกันแดดได้นาน 80 นาที) และ Water Resistant (จะกันแดดได้นาน 40 นาที) ทุกครั้ง
3. ทาครีมกันแดดซ้ำบ่อย ๆ และควรจะทาเลยไปที่บริเวณคอและแขนด้วยเพื่อความงามอย่างทั่วถึง
4. การเติมครีมกันแดดในระหว่างวัน โดยไม่ต้องล้างหน้านั้น ให้ซับเหงื่อซับมันออกจากหน้าเสียก่อน แล้วใช้นิ้วกลางป้ายครีมมาแตะ ๆ ให้ทั่วหน้า แทนการละเลงครีมไปทั่วหน้า ก่อนจะทาแป้งซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
5. แม้จะทาครีมกันแดดหลังจากตากแดดแรง ๆ แล้ว ควรดื่มน้ำตลอดเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ (Dehydrated) ตรงไหนที่ตากแดดแรง ๆ เป็นเวลานาน ควรจะทา After Sun ที่ช่วยให้บรรเทาอาการแสบร้อน เลือกที่มีส่วนผสมของวิตามินอีและว่านหางจระเข้ และไม่ควรโดนแดดแรง ๆ อีกสักพัก
6. แยกใช้ผลิตภัณฑ์ผิวหน้าและผิวกาย ควรใช้เฉพาะจุดที่กำหนด เช่น ใช้ทาหน้า ทาตัว ทามือ และที่สำคัญควรตรวจสอบวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุด้วย ควรเลือกวันที่ผลิตจนถึง ณ ปัจจุบันมีอายุไม่เกิน 1 ปี
7. ถ้าผิวกลายเป็นสีชมพูเข้ม รู้สึกร้อนและไหม้ ให้ประคบผิวบริเวณนั้นด้วยน้ำเย็นผสมนมสด ห้ามใช้น้ำแข็งประคบเพราะจะทำให้ยิ่งไหม้ จากนั้น ชโลมผิวด้วยโลชั่นที่มีส่วนผสมของอโลเวรา และไม่ควรใช้สบู่ หรือครีมอาบน้ำถูโดยเด็ดขาด
8. แต่ถ้าผิวเป็นสีแดงจัด เป็นรอยย่นจนเห็นได้ชัด ควรอาบน้ำและชโลมผิวเหมือนข้อแรก ทานยาแอสไพรินทุกๆ 4 ชั่วโมง จากนั้นให้ไปพบแพทย์ แต่ถ้าพบว่ามีผิวเป็นสีแดง มีตุ่มน้ำใส ๆ มีไข้ หนาวสั่น ให้ทานยาแอสไพรินแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
9. ในช่วงเวลากลางวัน ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาพอที่จะป้องกันแสงแดดที่ส่องผ่านเข้าสู่ผิวหนัง รวมทั้งแว่นตาป้องกันรังสี UVB อันเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นบริเวณหนังตาที่บอบบางและไวต่อแสงเป็นพิเศษ รวมทั้งถุงมือที่ช่วยป้องกันบริเวณหลังมือที่มักเป็นตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง ผิวหนังมากที่สุดเช่นกัน